14 ต.ค. 2552

สร้างอีเมล์เซิร์ฟเวอร์เองในองค์กร ยากไหม

 

ทความที่เราเคยเขียนเกี่ยวกับการเอาต์ซอร์สอีเมล์หรือการจ้างผู้อื่นดูแลจัดการอีเมล์ให้แทนที่จะดูแลเอง ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงการผลักภาระในการจัดการอีเมล์ที่น่าปวดหัวไปให้ผู้อื่นรับผิดชอบแทน อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลหลายประการที่คุณควรจะรับภาระจัดการอีเมล์เอง (ยอมปวดหัว) เหตุผลหนึ่งก็คือเหตุผลทางด้านเทคนิค แต่ประเด็นที่สำคัญที่คุณต้องคิดให้ดีก็คือความสบายใจของคุณเองที่จะให้คนอื่นดูแลจัดการแทนคุณ ถ้าหากคุณใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักในการทำธุรกิจ คงไม่ค่อยดีนักถ้าจะให้คนอื่นดูแลอีเมล์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณเองก็มีทรัพยากรพร้อมที่จะจัดการเองได้

Infinite InterChange มีอินเทอร์เฟซสำหรับบริหารระบบแบบง่ายๆ และมีการมอนิเตอร์การล็อกเข้าสู่ระบบและปริมาณข้อความแบบเรียลไทม์ เนื่องจากไม่มีเว็บอินเทอร์เฟซสำหรับผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบจึงต้องทำงานต่างๆ บนเซิร์ฟเวอร์โดยตรงเท่านั้น

Infinite InterChange มีความสามารถเฉพาะตัวตรงที่สามารถทำงานเป็นเมล์เซิร์ฟเวอร์เดี่ยวๆ หรือเป็นเกตเวย์สำหรับเมล์เซิร์ฟเวอร์อื่นๆ ก็ได้ แต่ละยูสเซอร์แอดเดรสสามารถจะระบุอีเมล์แอดเดรสภายนอกได้ เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อเข้ากับ Infinite InterChange เซิร์ฟเวอร์ เซิร์ฟเวอร์ก็จะเชื่อมต่อเข้ากับเมล์เซิร์ฟเวอร์ภายนอกของผู้ใช้พร้อมกับดึงข้อความใหม่เข้ามาไว้ในเมล์บ็อกซ์ของ Infinite InterChange อัตโนมัติ ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบอีเมล์หลายๆ แอ็กเคานต์ได้ในทีเดียว นอกจากนี้ Infinite InterChange ยังมีเว็บอินเทอร์เฟซสำหรับ POP และ IMAP ด้วย

ผู้ดูแลระบบ (เท่านั้น) สามารถสร้างกฎในการจัดการข้อความเพื่อใช้จัดการกับข้อความที่ถูกส่งเข้ามาในระบบอัตโนมัติและยังสามารถใช้เพื่อต่อต้านสแปมได้โดยคุณสามารถตั้งกฎให้ระบบเฝ้าดูข้อความที่ส่งหรือรับมาจากยูสเซอร์ใดๆ หรือให้ตรวจจับประโยคใดๆ เป็นพิเศษได้ และถ้าคุณต้องการระบบรักษาความปลอดภัยแบบ SSL คุณต้องจ่าย 1000 ดอลลาร์ ต่อ 50 ยูสเซอร์ Infinite InterChange มี NNTP เซิร์ฟเวอร์ซึ่งสามารถดึงข้อมูลจาก NNTP เซิร์ฟเวอร์อื่นได้โดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน ทำให้คุณสามารถมีห้องสนทนาของคุณเองและสามารถต่อไปยัง Usenet หรือห้องสนทนาสาธารณะอื่นๆ ที่คุณต้องการได้ด้วย

E-Mail on the Cheap

ถ้าหากคุณต้องการประหยัด คุณอาจจะลงทุนเพียงแค่ฮาร์ดแวร์และมองหาฟรีแวร์ที่มีความสามารถมาใช้งาน ซึ่งคุณก็ต้องไม่ลืมว่าถ้าคุณจะต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษซึ่งถ้าหากคุณไม่มีความรู้พอ เวลาที่คุณจะใช้ในการศึกษาเพิ่มเติมอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่คุณประหยัดได้ นอกจากนี้สำหรับฟรีแวร์อีเมล์นั้นแต่ละบริการจะแยกจากกันและเป็นคนละผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ก็จะมีวิธีการติดตั้งของตัวเองที่แตกต่างกันไป ไม่เหมือนในกรณีของอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ซึ่งจะรวมบริการ MTA, IMAP และ POP เข้าไว้ด้วยกัน การติดตั้งก็ทำไปด้วยกันและมีเว็บอินเทอร์เฟซให้

เราใช้ Red Hat Linux 6.0 แทนใช้วินโดวส์เอ็นทีเซิร์ฟเวอร์ และพยายามมองหาฟรีแวร์ที่สามารถจัดการ IMAP อีเมล์ขนาด 250 ยูสเซอร์ได้ บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่งเราใช้ qmail ซึ่งติดตั้งง่ายและมีระบบรักษาความปลอดภัยดีกว่า Sendmail ที่เป็นที่รู้จักกันมากกว่า สำหรับบริการ MTA ซึ่งเป็นตัวที่ทำงานฟังก์ชันหลักในการจัดเก็บข้อความและการรับส่งเมล์และเพิ่มความสามารถ IMAP โดยใช้โปรแกรมของมหาวิทยาลัยวอชิงตันซี่งแจกฟรี (University of Washington)

บนเซิร์ฟเวอร์อีกเครื่องหนึ่งเราได้ติดตั้ง IntraStore Server 2000 เวอร์ชันสำหรับลีนุกซ์ซึ่งเป็นเวอร์ชันฟรีจาก Control Data System ซึ่งมีบริการ MTA และ IMAP และมีเว็บอินเทอร์เฟซสำหรับคอนฟิกูเรชัน เนื่องจาก qmail มีคำอธิบายการติดตั้งและใช้งานอย่างละเอียดและมีข้อมูลบนเว็บมากมาย ขั้นตอนในการติดตั้ง qmail จึงไม่ใช่ปัญหา วิธีการหลักๆ ก็จะประกอบด้วย การระเบิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดออกมา สร้างยูสเซอร์และกรุ๊ป คอมไพล์ไฟล์ต่างๆ ที่คุณระเบิดออกมาและจากนั้นก็เริ่มใช้งานได้ qmail มีออปชันสำหรับปรับแต่งมากมาย แต่ในการติดตั้งแบบพื้นฐานคุณก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก การติดตั้ง IMAP เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยวอชิงตันก็มีขั้นตอนคล้ายคลึงกันคือดาวน์โหลด คอนฟิก คอมไพล์และเริ่มใช้งาน แต่คุณจะต้องปรับแต่งเพื่อให้สามารถทำงานกับ qmail ได้

สำหรับ IntraStore การติดตั้งทำได้ง่ายเพียงแค่รันโปรแกรมติดตั้งและคอมไพล์ก็ใช้งานได้ IntraStore ยังมี X.500 ไดเรกทอรีอินทิเกรชันและเว็บอินเทอร์เฟซสำหรับผู้ดูแลระบบและสำหรับเข้าถึงอีเมล์ที่ทำงานได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

MailSite 3.0

MailSite 3.0 ของ Rockliffe System ติดตั้งได้ง่ายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นเองและสามารถอิมพอร์ตยูสเซอร์จากวินโดวส์เอ็นทีได้ นอกจากนี้ MailSite ยังสามารถอินทิเกรตเข้ากับฐานข้อมูลแบบ ODBC และใช้เก็บข้อมูลของสมาชิกรายการเมล์และข้อมูลการล็อกเข้าสู่ระบบได้ MailSite มีบริการหลายอย่างเช่น SMTP, POP3, IMAP, HTTP และ Eudora Change Password คุณสามารถควบคุมการทำงานของ MailSite ได้โดยใช้โปรแกรมควบคุมการทำงานที่รันบนวินโดวส์หรือโดยผ่าน HTML เว็บอินเทอร์เฟซหรือจาวาอินเทอร์เฟซก็ได้ เว็บอินเทอร์เฟซสามารถปรับแต่งได้โดยการแก้ไขเทมเพลตไฟล์ คุณสามารถกำหนดระดับสิทธิพิเศษให้ยูสเซอร์ได้สามระดับคือ ไม่มีโดเมนหรือเซิร์ฟเวอร์ (มีความสามารถสูงสุด) ยูสเซอร์ที่ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ สามารถจะเชื่อมต่อกับเซิ ร์ฟเวอร์ผ่านบราวเซอร์ ควบคุมและปรับแต่งเมล์บ็อกซ์ของตัวเองได้ ผู้ดูแลระบบระดับโดเมนสามารถแก้ไขยูสเซอร์แอ็กเคานต์ในโดเมนของตนเอง และผู้ดูแลระบบระดับเซิร์ฟเวอร์สามารถแก้ไขยูสเซอร์แอ็กเคานต์ของทุกโดเมน อย่างไรก็ตามในเวอร์ชันนี้ยูสเซอร์จะไม่สามารถเข้าถึงอีเมล์ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ได้ (ฟีเจอร์นี้น่าจะสมบูรณ์แล้วขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้) สำหรับความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยและต่อต้านสแปม คุณสามารถปฏิเสธเมล์ที่ส่งเข้ามาตามโดเมนเนม, หมายเลขไอพี และอีเมล์แอดเดรส SMTP รีเลย์ และระบบตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้ของ SMTP ก็สามารถช่วยลดสแปมได้

MailSite รวมเข้ากับ Performance Monitor ของวินโดวส์เอ็นทีได้อย่างดีและได้เพิ่มตัวนับสำหรับติดตามการทำงานด้านต่างๆ ของระบบเข้าไปใน Performance Monitor 7 ตัว เหตุการณ์ที่สำคัญของระบบจะดูได้ใน Event Viewer ของวินโดวส์เอ็นทีและสามารถบันทึกลงไปในฐานข้อมูลแบบ ODBC นอกจากนี้ MailSite สามารถติดตามเหตุการณ์ต่างๆ แบบเรียลไทม์ทาง Performance Moniter ได้ MailSite มีคอมมานไลน์ยูทิลิตี้สำหรับใช้บันทึกและเรียกคืนคอนฟิกูเรชันของ MailSite ที่เก็บไว้มาลงใหม่ สำหรับจัดการชื่ออีเมล์แฝงและรายการเมล์ และสร้างยูสเซอร์แอ็กเคานต์กลุ่มใหญ่ๆ อย่างรวดเร็ว เซิร์ฟเวอร์สามารถควบคุมได้จากพีซีเครื่องใดๆ ก็ได้ที่รันวินโดวส์ 95 หรือ 98 MailSite มีจุดเด่นในด้านการรักษาความปลอดภัยและเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการระบบ มีความสามารถทางด้านการจัดการข้อความและรายการเมล์พอใช้ได้ เมื่อบวกกับราคาที่ไม่แพงเราคิดว่า MailSite เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากทีเดียว

0 ความคิดเห็น: